Year: 2021

รายวิชาใหม่  Thai MOOC

ต้อนรับเดือนสุดท้ายของปี ด้วยรายวิชาเข้าใหม่ของ Thai MOOC  ครั้งแรกกับรายวิชาจาก Thai PBS  ที่นำเสนอเกี่ยวกับจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชน ถือเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนพร้อมเรียนรู้ไปกับ Thai MOOC ได้ที่รายวิชาจาก Thai PBS ที่นำเสนอหลักการการสื่อสารของพลเมือง ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมเรียนรู้ไปกับ Thai MOOC ได้ที่รายวิชา THAIPBS002 สื่อพลเมือง | Citizen Media https://lms.thaimooc.org/…/course-v1:THAIPBS…/aboutสนใจสมัครเรียนได้ที่ https://idp.thaimooc.org#เรียนออนไลน์#เรียนฟรี#24ชั่วโมง#ThaiMOOChttps://demo.thaimooc.org/ จาก Thai PBS ที่นำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพ การถ่ายวิดีโอในรูปแบบต่าง ๆ ในแบบสื่อสาธารณะ พร้อมเรียนรู้ไปกับ Thai MOOC ได้ที่รายวิชา THAIPBS001 เทคนิคการถ่ายภาพในแบบสื่อสาธารณะ | Shooting techniques for Public Media https://lms.thaimooc.org/…/course-v1:THAIPBS…/aboutสนใจสมัครเรียนได้ที่ https://idp.thaimooc.org#เรียนออนไลน์#เรียนฟรี#24ชั่วโมง#ThaiMOOC  THAIPBS003 จริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชน https://lms.thaimooc.org/…/course-v1:THAIPBS…/about สนใจสมัครเรียนได้ที่ https://idp.thaimooc.org#เรียนออนไลน์#เรียนฟรี#24ชั่วโมง#ThaiMOOC 

งานประชุม Leapfrogging the Challenges of Higher Education During COVID-19 during the pandemic and beyond

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 รศ. ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU) ได้นำเสนอโครงการ Thai MOOC หัวข้อ Thailand Cyber University’s key activities to support higher educationในงานประชุม Leapfrogging the Challenges of Higher Education During COVID-19 during the pandemic and beyondจัดโดยประเทศเกาหลี ผู้เข้ารับชมจากประเทศต่าง ๆ ทางออนไลน์เป็นจำนวนมากLink บันทึกการประชุม Link หน่วยงานที่จัด : keris.or.kr/main/na/ntt/selectNttInfo.do?mi=1051&nttSn=38216

ศ. ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU) เข้าร่วมในการเสวนาเรื่อง The revival of MOOCs in Asia ในงาน EDUtech Asia 2021

ศ. ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU) เข้าร่วมในการเสวนาเรื่อง The revival of MOOCs in Asia ในงาน EDUtech Asia 2021 ที่จัดขึ้นวันอังคาร ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยผู้เข้าร่วมเสวนาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดียและมาเลเซีย

สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้จัดอบรม “หลักสูตรโครงการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ

                    สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้จัดอบรม “หลักสูตรโครงการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ”    โดย ผศ. ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU) ได้เข้าร่วมบรรยายเพื่อแนะนำแพลตฟอร์มกลางด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทยที่ชื่อว่า Thai MOOC ให้เป็นช่องทางในการนำเสนอความรู้แก่นักข่าวและผู้ร่วมอาชีพอื่นๆ ที่สนใจแบ่งปันความรู้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564ที่  VIE Hotel Bangkok ราชเทวี กรุงเทพฯ มีผู้ร่วมรับฟังผ่าน ZOOM Meeting มากกว่า 100 คน

ทีมผู้บริหารของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ได้เข้าร่วมให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการ Thai MOOC ในรายการ Chance for Future สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5

ทีมผู้บริหารของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ได้เข้าร่วมให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการ Thai MOOC ในรายการ Chance for Future โอกาสแห่งอนาคต by อว.EP4 : Thaimooc การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเมื่อรูปแบบการเรียนรู้เปลี่ยนไป เราสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้วยตนเองได้มากขึ้น การเลือกรูปแบบการเรียนรู้ออนไลน์ที่เหมาะกับตัวเอง และรู้จักผสมผสานรูปแบบการเรียนทั้งออนไลน์และออฟไลน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดย่อมช่วยสร้างโอกาสต่อยอดอาชีพและการใช้ชีวิตได้.

หุ่นยนต์ศาสตร์ขั้นพื้นฐาน (Robotics Foundation) คนไทยสามารถเรียนรู้วิชาหุ่นยนต์ศาสตร์ขั้นพื้นฐาน (Robotics Foundation) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Thai MOOC และ Federica Web Learning โดยเนื้อหามี 2 ส่วน ประกอบด้วย 1. หุ่นยนต์ศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 1 การสร้างแบบจำลองหุ่นยนต์     (Robotics Foundation I – Robot Modeling)2. หุ่นยนต์ศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 2 การควบคุมหุ่นยนต์     (Robotics Foundation II – Robot Control) ลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ https://thaimooc.org เรียนออนไลน์ได้ทุกที่และไม่มีค่าใช้จ่าย

สกู๊ปข่าวสั้นวันนี้: สรุปบรรยากาศการจัดงาน IEC 2021 เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 64 ที่ผ่านมา โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ได้มีการจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านอีเลิร์นนิง TCU International e-Learning Conference หรือ IEC ครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ Empowering New Normal Global Online Education เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษาและจัดการศึกษาออนไลน์ในระดับนานาชาติ ผ่านการ Live Video Conference ทาง Zoom และ Facebook โดยมีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานมากถึง 4,000 คน ความพิเศษของงาน IEC 2021 คือการได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญทางการจัดการศึกษาออนไลน์ทั้งในระดับประเทศและสากลจากประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมัน และอินเดีย ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์และแนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ในยุค New Normal ได้อย่างน่าสนใจและเกิดเป็นไอเดียใหม่ในการต่อยอดมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างความตระหนักถึงอิทธิพลของการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในปัจจุบัน หนึ่งในแนวคิดสำคัญที่วิทยากรทุกท่านเห็นตรงกัน คือ การศึกษาและการสอน เป็นสิ่งที่จำเป็นในสังคม ซึ่งไม่สามารถให้ระบบหุ่นยนต์หรือ AI…

Thai MOOC Talk on Tour ครั้งที่ 4: Upskill การทำงานออนไลน์ในยุค COVID-19 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในหัวข้อ Upskill การทำงานออนไลน์ในยุค COVID-19 พบกับแขกรับเชิญ : 1. ผศ. ดร.กรวิภา พูลผล หัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวข้อ พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการทำงาน 2. อาจารย์ณิชยา ศรีสุชาต คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หัวข้อ ปั้นแบรนด์สร้างรายได้สไตล์ New normal 3. ดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หัวข้อ รู้จักทักษะเพื่อสร้างอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์สกล โสภิตอาชาศักดิ์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมฟังและร่วมกิจกรรมในงานเพื่อลุ้นรับของที่ระลึกพรีเมียมจากพวกเราจำนวน 10 รางวัล พิเศษ! ส่งคำถามที่อยากฝากถึงวิทยากรภายในวันศุกร์ที่ 20 ส.ค. ลุ้นรับกระบอกน้ำจากทีมงานจำนวน…

มาทำความรู้จักหนึ่งในวิทยากร IEC 2021: Professor Karanam Pushpanadham Professor Karanam Pushpanadham เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาและการเรียนระบบอีเลิร์นนิง (e-Learning) โดยมีตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการเรียน คณะศึกษาศาสตร์และจิตวิทยา จาก University of Baroda รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย อีกทั้งในปี พ.ศ. 2548 -2549 ท่านยังได้มีโอกาสร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยรับตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ท่านมีบทบาทเป็นหนึ่งในสมาชิกของ ASEM Education and Research Hub for Lifelong Learning (ASEM LLL Hub) ซึ่งเป็นศูนย์เครือข่ายของนักวิจัยทางการศึกษาในระดับอุดมศีกษาจากทวีปเอเชียและยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกระบวนการวิจัยทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยเฉพาะและสร้างเครือข่ายแห่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักวิจัยและผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการศึกษา เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แห่งการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ท่านยังมีความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองและการจัดอบรมด้านบริหารการศึกษา จึงได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้กับหลายเวทีทางการศึกษาทั่วโลก รวมถึงมีส่วนสำคัญในออกแบบกระบวนการเรียนรู้ผ่านแนวคิดการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก (Global Citizenship Programme) ร่วมกับสถาบัน Stockholm School Administration ประเทศสวีเดน ทั้งนี้ท่านยังมีบทบาทสำคัญในฐานะที่ปรึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนให้…

มาทำความรู้จักหนึ่งในวิทยากร IEC 2021: Professor Gerard L. Hanley, Ph.D. Professor Gerard L. Hanley, Ph.D. ท่านเป็นกรรมการบริหารของ MERLOT ซึ่งเป็นระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองทางออนไลน์และระบบสืบค้นข้อมูลทางวิชาการของ California State University ผ่านเว็บไซต์ www.merlot.org ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนเรียนมากกว่า 180,000 คน และแหล่งการเรียนรู้มากกว่า 95,000 แห่ง รวมถึงเป็นกรรมการบริหารของระบบเว็บไซต์ SkillsCommons ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางออนไลน์ที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน ท่านมีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยรองอธิการบดี (Assistant Vice Chancellor) ของสถาบัน Academic Technology Services, California State University ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันที่สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้กับ Long Beach Campus หนึ่งในวิทยาเขตของ California State University โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) ผ่านการกระบวนการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ…