About TCU

What is
Thailand Cyber University
?

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยในขณะนั้นทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในภาพรวมของอุดมศึกษา เช่น ส่งเสริมให้ทุนมหาวิทยาลัยจัดทำสื่อการเรียนแบบอีเลิร์นนิง (e-Learning) และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (Educational Recourses) เพื่อใช้งานร่วมกัน แบ่งปันและแลกเปลี่ยนกันระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยการเผยแพร่ระบบการสร้างสื่อที่มีคุณภาพสูง จัดฝึกอบรมแก่คณาจารย์และผู้สนใจทั่วไป จัดตั้งเว็บรวมสื่อการเรียนแบบอีเลิร์นนิงพร้อมเผยแพร่ให้นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนแบบเปิด (Open Courseware) ผ่านระบบจัดการเรียนรู้ของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

ต่อมา โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ภายใต้การกำกับของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) ภายใต้ชื่อโครงการ Thailand Massive Open Online Course: Thai MOOC เปิดให้บริการด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบ MOOC ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ให้กับประชาชนทั่วไปเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านระบบของ Thai MOOC Platform ซึ่งทําหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางให้กับสถาบันอุดมศึกษา สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้นํารายวิชาออนไลน์มาเผยแพร่ในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์ในสถาบันการศึกษาให้ใช้รายวิชาออนไลน์ในระบบ Thai MOOC Platform ร่วมในการจัดการเรียนการสอน

Toolbar

Vision of TCU

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง ในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการสอน และ สนับสนุนหน่วยงานการศึกษาในการนำเทคโนโลยีด้านการเรียนรู้เข้ามาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นหน่วยงานกลาง ที่ริเริ่ม ประสานและสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการศึกษา แบบอีเลิร์นนิง( e-Learning) อย่างมีคุณภาพ และมีมาตรฐานสูงและเหมาะสมอย่างพึ่งพาตนเองได้

Mission of TCU


• พัฒนาระบบและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
• พัฒนาและบริหารจัดการแพลตฟอร์มกลางเพื่อการเรียนรู้ดิจิทัลระดับชาติและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดด้วยระบบการเรียนรู้แบบเปิดสำหรับมวลชน (MOOC)
• พัฒนาและบริหารจัดการระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต
• ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเนื้อหาแบบดิจิทัล เพื่อการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และการศึกษาตลอดชีวิต
• เป็นศูนย์กลางความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาอย่างเหมาะสม และยั่งยืนบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองได้
• เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้แบบเปิด (Open Educational Resources) เพื่อกระจายโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ

บริบทของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Context of TCU)

บริบทภายในองค์กร (Internal Context)

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยในขณะนั้นทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในภาพรวมของอุดมศึกษา เช่น ส่งเสริมให้ทุนมหาวิทยาลัยจัดทำสื่อการเรียนแบบอีเลิร์นนิง
(e-Learning) และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (Educational Recourses) เพื่อใช้งานร่วมกัน แบ่งปันและแลกเปลี่ยนกันระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยการเผยแพร่ระบบการสร้างสื่อที่มีคุณภาพสูง จัดฝึกอบรมแก่คณาจารย์และผู้สนใจทั่วไป จัดตั้งเว็บรวมสื่อการเรียนแบบอีเลิร์นนิงพร้อมเผยแพร่ให้นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนแบบเปิด (Open Courseware) ผ่านระบบจัดการเรียนรู้ของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

ต่อมา โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ภายใต้การกำกับของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) ภายใต้ชื่อโครงการ Thailand Massive Open Online Course: Thai MOOC เปิดให้บริการด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบ MOOC ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ให้กับประชาชนทั่วไปเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านระบบของ Thai MOOC Platform ซึ่งทําหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางให้กับสถาบันอุดมศึกษา สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้นํารายวิชาออนไลน์มาเผยแพร่ในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์ในสถาบันการศึกษาให้ใช้รายวิชาออนไลน์ในระบบ Thai MOOC Platform ร่วมในการจัดการเรียนการสอน

แผนยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพและประหยัดงบประมาณในการจัดการศึกษา โดยการใช้บุคลากร ทรัพยากรทางการศึกษา และคอร์สแวร์ร่วมกัน

1 สร้างความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
2 สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาคอร์สแวร์หลักสูตรปริญญา หลักสูตรประกาศนียบัตร คอร์สแวร์อื่นๆที่สามารถใช้ร่วมกัน
3 สนับสนุนการใช้ทรัพยากรทางการศึกษารร่วมกันโดยพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ทางไกลผ่านระบบเครือข่าย (LMS)
4 เข้าร่วมเครือข่ายนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทางไกลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ

แผนยุทธศาสตร์ที่ 2 ขยายโอกาสการศึกษาและสนับสนุนการศึกษาต่อเนื่องของประชาชนด้วยวิธีการเรียนทางไกลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ

1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น พัฒนาระบบห้องประชุมทางไกล หรือ ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
2 ส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันคอร์สแวร์และทรัพยกรการเรียน เช่น พัฒนาเว็บศูนย์กลางทางการศึกษาและคอร์สแวร์เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างสถาบัน
3 ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อนำเทคโนโลยีด้านการศึกษาใหม่ๆ มาเผยแพร่องค์ความรู้

แผนยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับและรับประกันคุณภาพการศึกษาผ่านทางไกลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศไทย

1 วิจัยและพัฒนามาตรฐานคุณภาพและการประกันคุณภาพสำหรับการจัดการเรียนการสอนทางไกล
2 ออกข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพสำหรับการพัฒนาคอร์สแวร์
3 พัฒนาบุคลากรของสถาบันการศึกษาทุกระดับให้เป็นผู้นำกระแสพลวัตรทางการศึกษา และในการจัดการศึกษาทางไกล