เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2565 โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย รศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย, รศ.ภก.ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย, ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ได้ดำเนินการจัด ประชุมรับฟังความคิดเห็น “แนวปฏิบัติการพัฒนารายวิชาออนไลน์ในระบบเปิด เพื่อการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษา”ณ ห้องประชุมชั้น 18 ซี อาคารอุดมศึกษา 2 และผ่านประชุมทางไกลผ่าน Zoom Meeting
.
โดยมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วมกว่า 90 ท่าน เพื่อร่วมกันหารือแนวทาง
ที่สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการดำเนินงานคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และ ประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ในเรื่อง หลักการการดำเนินการคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา, การสะสมหน่วยกิตในคลังหน่วยกิต, หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตการศึกษาในระบบ, หลักเกณฑ์การเทียบโอนหน่วยกิตการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย, องค์ประกอบขั้นต่ำที่ใช้ในการเทียบโอนหน่วยกิต, สิ่งที่จะต้องกำหนดในรายวิชา MOOC และจัดเก็บในคลังหน่วยกิต
.
นอกจากนี้นางสาวชนากานต์ ปิ่นวิเศษ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาออนไลน์ได้ชี้แจงแนวปฏิบัติการพัฒนารายวิชาออนไลน์ในระบบเปิด เพื่อการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษา รวมถึงได้รับเกียรติจากท่าน อาจารย์ ดร.จิตติ นิรมิตรานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูล แนวปฏิบัติการจัดสอบความรู้ ณ ศูนย์สอบการออกข้อสอบเพื่อบรรจุในคลังข้อสอบ (การสร้างตารางวิเคราะห์ข้อสอบ หลักการออกข้อสอบคู่ขนาน)
.
ในการนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วม แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อนำมาเป็นแนวทางนำร่องในการพัฒนารายวิชาในระบบ Thai MOOCที่สามารถการเทียบโอนหน่วยกิตได้ต่อไป
.
โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU)
สำนักงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI)
.
#ThaiMOOC#ระบบจัดการเรียนรู้ออนไลน์#Thai#MOOC#Online#Learning#Free#Courses#Learning#บทเรียนออนไลน์#เรียนออนไลน์#ไม่มีค่าใช้จ่าย#อว#กระทรวงอว#MHESI#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
Leave a Reply